ความรู้ที่ได้รับ : วันนี้เป็นการเรียนวันแรกของปี
2 เทอมที่ 2/2560 อาจารย์ได้อธิบายถึงรายวิชา
และข้อตกลงในการมาเรียน พร้อมให้ไปสร้างบล็อคบันทึกการเรียนรู้หลังจากที่เรียนในแต่ละสัปดาห์
และถามคำถามทั่วไป เช่น คณิตศาสตร์หมายถึงอะไร เด็กปฐมวัยหมายถึงอะไร
คณิตศาสตร์สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยหรือไม่ เป็นต้น
ภาพถ่ายขณะเรียน
ประเมินตัวเอง : วันนี้ตั้งใจมาเรียนวิชานี้มากค่ะ
ได้มีความเข้าใจในข้อตกลงของวิชานี้
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจมาเรียน
แต่งตัวเรียนร้อย ตั้งใจฟังที่อาจารย์บอก
และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์
: อาจารย์แตงตัวสวย เรียบร้อย
เหมาะสมมากค่ะ อธิบายข้อตกลงได้ชัดเจน และนำคำเสนอแนะของนักศึกษาจากเทอมที่แล้วมาปรับใช้ในการเรียนการสอน
ทำให้เข้าใจในการเรียนมากยิ่งขึ้นค่ะ
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันที่
19 มกราคม พ.ศ.2561
ความรู้ที่ได้รับ : วันนี้อาจารย์ให้ทำมายแม็บเรื่อง ประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ทำรูปแบบเส้นสมอง โดยการแตกความรู้ออกไปเรื่อยๆ ถ้าทำผิดก็ต้องทำใหม่
เพราะอาจารย์อยากให้เราทำถูกวิธี
และอาจารย์ก็บอกถึงขั้นตอนการทำและการวางแผนเวลาทำจะได้ไม่ทำผิด
พอในตอนท้ายคาบอาจารย์ให้ทำกิจกรรมออบแบบชื่อเล่นตัวเอง โดยการเขียนติดกัน
แล้วอาจารย์ก็เขียนที่กระดานว่า 1.คนตื่นก่อน 08.00 น. 2.คนตื่นหลัง 08.00น.
ซึ่งมีคนตื่นก่อน 08.00น.10 คน
และคนตื่นหลัง 08.00น. 14 คน
แล้วอาจารย์ก็มาสรุปให้ฟังเป็นวิธีการสอนเด็กเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ว่าการสอนคณิตเด็กปฐมวัยไม่ควรสอนเป็นตัวเลขเลย เพราะเด็กยังไม่เข้าใจในจำนวน
ควรสอนเป็นกิจกรรมการเล่นเพราะการเล่นคือหัวใจสำคัญของการเรียนรู้
คำศัพท์น่ารู้ :
1. Idea ความคิด
2. Desing ออกแบบ
3.Mathematics คณิตศาสตร์
4.Experience ประสบการณ์
5.Childhood ปฐมวัย
6. Time เวลา
7.Media สื่อ
8. Number จำนวน
9.Psychology of Learning จิตวิทยาการเรียนรู้
10. Importance ความสำคัญ
อาจารย์ให้ออกแบบชื่อตัวเองโดยการเขียนติดกัน
เขียนมายแม็บเรื่องประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแผ่นที่
1
เขียนมายแม็บเรื่องประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแผ่นที่
2
อาจารย์ให้นำชื่อที่เราออกแบบไปแปะไว้ที่กระดาน
อาจารย์ออกมาพูดเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ประเมินตัวเอง : มีความรู้เดี่ยวกับการสอนและวิธีการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
และเข้าใจหลักการ วิธีคิดเกี่ยวกับการทำมายแม็บหรือแผ่นที่ความคิดว่าเราควรวางแผนยังไงให้ถูกต้อง
และสนุกกับการทำกิจกรรมที่อาจารย์จัดขึ้น
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนได้มาทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุข
บางคนก็ตั้งใจทำ และบางคนก็เล่นมือถือ บางคนก็ได้แก้งานใหม่ 2-3
รอบ ทุกคนแต่งตัวเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แนะนำวิธีต่างๆ
ในการทำได้ดีมากๆ และคอยมาดูว่าทำงานถูกหรือไม่ คอยให้คำแนะนำ และมีกิจกรรมสนุกๆ
มาให้ทำทำให้ไม่น่าเบื่อในการเรียน
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันที่
24 เดือน มกราคน พ.ศ.2561
ความรู้ที่ได้รับ : วันนี้อาจารย์ไม่เข้าสอนเนื่องจากติดธุระ
เลยสั่งงานมาในไลน์กลุ่มให้ทำหัวข้อ เรื่องสื่อทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ประเมินตัวเอง : ตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งจนเสร็จและส่งเรียบร้อยภายในคาบ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนทำงานตามที่อาจารย์สั่งมาในไลน์กลุ่มอย่างตั้งใจและแต่งกายเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์ไม่เข้าสอนแต่อาจารย์สั่งงานมาในไลน์
ให้นักศึกษาทุกคนออกแบบสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ภาพขณะทำกิจกรรมภายในห้องเรียน
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันที่
31 มกราคม พ.ศ.2561
ความรู้ที่ได้รับ :
1.ได้รู้จักรายละเอียดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.ได้รู้จักวิธีการคิดเป็นลำดับขั้นตอน
3.ได้ทำกิจกรรมในห้องเรียน
-การสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยต้องสอนจากจำนวนมากไปหาจำนวนน้อย
-สอนจากของจริงมาเป็นภาพแล้วค่อยมาเป็นจำนวน
เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์แล้วกลายมาเป็นนามธรรม
-บลูเนอร์ มีปฏิสัมพันธ์
ออกมาเป็นภาพ เรียนรู้ของจริง (ทางสติปัญญา)
-การสอนควรมีวิธีที่หลากหลาย
-ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่เราใช้
ส่วนคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการหาค่า
เพื่อนกำลังฟังอาจารย์สอน
อาจารย์กำลังสอน
กิจกรรมการพับกระดาษ
ประเมินตัวเอง : ได้รู้จักวิธีการสอนที่หลากหลายและมีความรู้ในวิชาเพิ่มมากขึ้น
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆ
ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและแต่งกายสุภาพเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายได้เข้าใจมาก และยกตัวอย่างได้ชัดเจนมาก
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันที่
9 เดือน
กุมภาพันธ์ พ.ศ.
2561
ความรู้ที่ได้รับ
: วันนี้อาจารย์สอนเรื่องทักษะการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เช่น การนับจำนวน การจับคู่ และให้นักศึกษาออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความชอบส่วนตัว
คนที่ชอบกินลาบไก่และคนที่ชอบกินส้มตำแล้วนำมาสรุปเป็นโจทย์ทางคณิตศาสตร์
1.การใช้โจทย์ เช่น กระดาษมากกว่าคนอยู่ 4 แผ่น
กระดาษ > คน = 4 แผ่น
21 > 17 = 4 แผ่น
21 > 17 = 4 แผ่น
2.คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง
1.ในห้องนอน เช่น จำนวนผ้าห่ม จำนวนหมอน
2.ในห้องเรียน เช่น สื่อเรียนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
จำนวนโต๊ะ เก้าอี้
3.สระน้ำ เช่น ความกว้าง ความยาว และความจุของปริมาณน้ำ
3.คณิตศาสตร์ใช้เมื่อใดบ้าง
1.การดูเวลา
2.การซื้อขอใช้ ของกิน และอื่นๆ
3.ใช้ในการเรียนการสอน
4.การซื้อของในอินเตอร์เน็ต
เพื่อนออกมาเสนอคนที่ชอบกินลาบไก่หรือคนที่ชอบกินส้มตำ
เพื่อนออกมานำเสนอวิจัยและสื่อการสอน
บรรยากาศภายในห้องเรียน
กิจกรรมที่ทำในห้องเรียน
เมินอาจารย์
: อาจารย์เป็นคนเก่ง
มีทักษะการสอนที่หลายด้าน
สามารถสอนนักศึกษาได้หลายรูปแบบทำให้เกิดทักษะทางการคิดและเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน
ประเมินตัวเอง : ให้ความร่วมมือภายในห้องเป็นอย่างดี และตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน
: เพื่อนๆ ทุกคนให้ความร่วมมือภายในห้องเป็นอย่างดี
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันที่
14 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ความรู้ที่ได้รับ
: วันนี้เรียนเกี่ยวกับการให้เหตุผล
การให้เหตุผลแสดงว่าเด็กเรียนรู้นามธรรมสู่รูปธรรมของเด็กช่วง 4-7 ปี ก่อนที่เราจะสอนหรือจัดประสบการณ์ให้กับเด็กเราควรจะรู้จักเด็กและจัดให้ตรงกับความต้องการของเด็ก พัฒนาการมาจากการทำงานของสมองเป็นตัวตั้งเชื่อมกับอายุออกมาเป็นพัฒนาการในช่วงแรกเกิด - 2 ปี มีประสาทสัมผัสทั้ง 5
เรียกว่า "เซ็นเซอร์มอเตอร์"
อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ 1.
อายุ 2-4 ปี 2.อายุ 4-7 ปี จะมีพัฒนาการยืดตัวเอง
เริ่มมีเหตุผลแต่ยังไม่สมูรณ์
นักทฤษฎี
-ทรอนไดร์ส เกี่ยวกับ การเรียนรู้
-สกินเนอร์ เกี่ยวกับ การใช้แรงเสริม
-เพียเจย์ เกี่ยวกับ การคิด การให้เหตุผล
บรรยากาศในห้องเรียน
ประเมินตัวเอง : วันนี้ตั้งใจฟังและจดตามหัวข้อที่อาจารย์สอน
แต่งตัวเรียบร้อยดีค่ะ
ประเมินอาจารย์
: อาจารย์สอนสนุก
ทำให้เห็นภาพตามอย่างชัดเจน อาจารย์เป็นคนที่คอยย้ำเตือนนักศึกษาตลอด
ทำให้จำบทความหรือทฤษฎีต่างๆ ได้ และเป็นอาจารย์ที่ห่วงใย ใส่ใจนักศึกษาทุกคน
ประเมินเพื่อน
: วันนี้เพื่อนๆ
มาเรียนไม่ค่อยเยอะ แต่คนที่มาก็ตั้งใจเรียนและฟังที่อาจารย์สอน
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันที่ 21 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ความรู้ที่ได้รับ : สื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย → คณิตคิดสนุก
สื่อ CAI
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted Instruction) หรือ ซีเอไอ (CAI)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI : Computer Assisted
Instruction) หมายถึง การประยุกต์นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนการสอน
โดยมีการพัฒนาโปรแกรมขึ้นเพื่อนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
การเสนอแบบติวเตอร์ (Tutorial)
แบบจำลองสถานการณ์
(Simulations) หรือแบบการแก้ไขปัญหา
(Problem Solving) เป็นต้น
การเสนอเนื้อหาดังกล่าวเป็นการเสนอโดยตรงไปยังผู้เรียนผ่านทางจอภาพหรือแป้นพิมพ์
โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม วัสดุทางการสอนคือโปรแกรมหรือ Courseware ซึ่งปกติจะถูกจัดเก็บไว้ในแผ่นดิสก์หรือหน่วยความจำของเครื่องพร้อมที่จะเรียกใช้ได้ตลอดเวลา
การเรียนในลักษณะนี้ ในบางครั้งผู้เรียนจะต้องโต้ตอบ
หรือตอบคำถามเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการพิมพ์ การตอบคำถามจะถูกประเมินโดยคอมพิวเตอร์
และจะเสนอแนะขั้นตอนหรือระดับในการเรียนขั้นต่อ ๆ ไป
กระบวนการเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ (ศิริชัย
สงวนแก้ว, 2534)
ที่มา
: https://www.baanmaha.com/community/threads/16649-CAI-Computer-Assisted-Instruction
(การที่เราจะสอนอะไรให้กับเด็กเราต้องดูจากหลักสูตร)
1.ชีวิตประจำวัน
2.บุคคลและสถานที่
3.สิ่งแวดล้อมรอบตัว
ทุกอย่างสำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยมาก
เพราะองค์ประกอบแต่ละอย่างจะสอนให้เด็กเติบโตมาอย่างสมบูรณ์ เช่น
ถ้าสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กเป็นไปฝนทางที่ดี เด็กก็จะโตมาเป็นคนดีของสังคม
แต่ถ้าสภาพแวดล้อมแย่ ก็จะส่งผลเสียต่อเด็ก ส่งผลให้เด็กเบี่ยงเบนไปในทางที่ไม่ดี
และการที่เราจะสอนเด็กให้ได้ดีและประสบผลสำเร็จนั้นปัจจัยสำคัญ คือ
1.เลือกเรื่องที่เด็กสนใจ → มีผลต่อเด็ก / ชีวิตประจำวัน
2.เลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับเด็กและละวัย
และเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
3.สอดคล้องกับวีการเรียนรู้ →
การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับเด็กปฐมวัย
ภาพถ่ายขณะเพื่อนออกมานำเสนอ
บรรยากาศในห้องเรียน
ประเมินตัวเอง : ตั้งใจฟังและจดสิ่งที่อาจารย์สอน ง่วงนอนเล็กน้อย
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนดีและสอนสนุก
บางที่ก็หาเรื่องตลกมาเล่าให้ฟัง ทำให้ไม่เครียดในการเรียนการสอนมากเกินไป
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมกันภายในห้อง
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันที่ 16 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2561
ความรู้ที่ได้รับ
: วันนี้อาจารย์สอนเรื่องสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์
ระหว่างการดำเนินการต่างๆ
และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.3 ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.4 เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
มาตรฐาน ค 2.2 แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐาน ค 3.1 อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน ค 3.2 ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา
สาระที่ 4 พีชคณิต
มาตรฐาน ค 4.1 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์
และฟังก์ชัน
มาตรฐาน ค 4.2 ใช้นิพจน์ สมการ
อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical model) อื่นๆ
แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนแปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรฐาน ค 5.2 ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้
อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค 5.3 ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล
การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น
ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ช่วงท้ายคาบอาจารย์ได้ให้เขียนกิจกรรมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทั้ง 6
สาระ
บรรยากาศในห้องเรียน
ประเมินตัวเอง : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา
แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจฟังและตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งแต่อาจจะไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่ค่ะ
ประเมินอาจารย์
: วันนี้อาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เรียนอย่างชัดเจน
และแนะนำส่วนที่ต้องเพิ่มเติมให้ถูกต้องตามมาตรฐานการเรียนรู้
ประเมินเพื่อน
: เพื่อนทุกคนเข้าเรียนและตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่ง
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันที่ 23 เดือน มีนาคม
พ.ศ. 2561
ความรู้ที่ได้รับ : วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง
การจัดกิจกรรมทักษะทางสังคมให้กับเด็กปฐมวัย และทักษะการเปรียบเทียบ
ดิฉันสามารถสรุปตามที่อาจารย์สอนได้ดังนี้ค่ะ
ขณะที่อาจารย์กำลังสอน
เรื่อง แอปเปิ้ล เปรียบเทียบขนาด สี
น้ำหนัก จำนวน สรุป การเปรียบเทียบสี ขนิดของผลไม้
เมื่อนับจำนวนเสร็จแล้วแทนค่าด้วยตัวเลขฮินดรูอารบิค เด็กจะแยกจากตาเห็น
หรือเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม
ทักษะ 1/1 ให้เด็กเรียนรู้จำนวนเท่ากัน
แล้วค่อยเรียนรู้จำนวนมากกว่า น้อยกว่า
เด็กเรียนรู้เรื่องรูปทรงเอามาเปรียบเทียบหาขนาด จำนวน 1/1
แล้วครูค่อยนำสู่บทเรียน เชื่อมโยงกับสิ่งที่สอน
เรื่องความสมมาตรผ่านงานศิลปะ
แปลงประสบการณ์ให้เป็นเรื่องง่ายๆ
- การเล่น คือ
การเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับเด็กปฐมวัยผ่านการลงมือโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และต้องให้เด็กเลือกและลงมือปฏิบัติเอง
- ขั้นการอนุรักษ์ คือ เด็กตอบสนองต่อตาเห็น ดังนั้นจะต้องจัดประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม
โดยเป็นลำดับขั้นตอน
- พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามลำดับขั้นของแต่ละวัย เปลี่ยนไปในทางที่ดีและอย่างต่อเนื่อง
และช่วงท้ายชั่วโมงเพื่อนออกมานำเสนอบทความที่อาจารยืมอบหมายให้ไปศึกษา
เช่น
นางสาวสุชัยญา
บุญบุตร นำเสนอ เรื่อง เรียนคณิตยังไงไม่ให้เป็นยาขม
1.พ่อแม่ปลูกฝังเจตคติที่ดีให้กับลูก
2.ทำงานสัมพันธ์กับครูในโรงเรียน
3. พ่อแม่ทำให้คณิตเป็นเรื่องใกล้ตัว
4. พ่อแม่สอนจากรูปธรรมสู่นามธรรม
เพื่อนออกมานำเสนอสื่อคณิตศาสตร์
กิจกรรมระบายสีด้วยรูปทรงสี่เหลี่ยม
เพื่อนนำกระดาษรูปทรงที่อาจารย์ให้ฉีกออกมาเรียงหน้าห้อง
ประเมินตัวเอง : วันนี้ตั้งใจฟังและจดตามหัวข้อที่อาจารย์สอน
แต่งตัวเรียบร้อยดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมมาให้ทำในห้องเลยทำให้ไม่น่าเบื่อ
สอนสนุกสนานมากเลยค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ตื่นเต้น สนุกสนานและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมกันภายในห้อง
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันที่ 29 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2561
ภาพถ่ายขณะเพื่อนกำลังรายงานวิจัย บทความและสื่อการสอน
ความรู้ที่ได้รับ : วันนี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากติดอาจารย์ขอชดเชยเวลาเรียน
แต่ตรงกับวันที่เรียนจีอีภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติงาน เวลา 09 : 00 -1 1: 30
(มีสอบในคาบเรียน) จึงไม่สามารถเข้าเรียนได้ จึงได้ดูบันทึกการเรียนรู้จาก นางสาวจีรนันท์ ไชยชาย
วันนี้อาจารย์ได้ให้คนที่เตรียมพร้อมที่จะนำเสนอออกไปรายงานในหัวข้อที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย ในส่วนของดิฉันได้เตรียมมาจึงได้เป็นคนแรกในการนำเสนอวันนี้
-จีรนันท์ ไชยชาย (ดิฉัน)
รายงานวิจัยเรื่อง การศึกษาทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ประกอบอาหารพื้นบ้านอิสาน อาจารย์ได้เสนอแนะว่า หากเรานำตัวอย่างวิจัยนี้มาจัดประสบการณ์ให้เด็กจริงๆ ควรให้เป็นสิ่งรอบตัวเด็ก หรือสิ่งต่างๆที่สามารถพบเจอในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นในวิจัยนี้ อาหารพื้นบ้านคือ ส้มตำ ซึ่งเป็นอาหารที่เด็กทุกคนรู้จักและเคยกินเป็นประจำอยู่แล้ว เป็นต้น เราสามารถนำไปสอนในชั้นเรียนได้ คือ การสอนแบบบูรณาการโดยการจัดประสบการณ์ประกอบอาหาร (อาจจะหลากหลายขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม,สิ่งต่างๆรอบตัว) การให้เด็กทำกิจกรรมหนึ่งกิจกรรม แต่เด็กสามารถเรียนรู้ได้ถึงหลายหน่วยหรือหลากหลายวิชา
ประเมินตัวเอง : ----------
ประเมินอาจารย์ : --------
ประเมินเพื่อน : ----------
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันที่ 4 เดือน เมษายน พ.ศ. 2561
ความรู้ที่ได้รับ : วันนี้อาจารย์ให้เอาสื่อที่สั่งไปคาบที่แล้วมาดูความคืบหน้าว่าของแต่ละคู่ควรปรับปรุงตรงไหนอย่างไรและให้คำแนะนำในการทำสื่อ
ต่อมาอาจารย์สอนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์
- - ต้องรู้ว่าจะจัดกับใคร
- - รู้เกี่ยวกับตัวเด็ก เพื่อพัฒนาทักษะให้เหมาะสมกับของเด็กแต่ละช่วงวัย ทำให้มีพัฒนาการที่เหมาะไปตามวัย
#รูปภาพจาก นางสาววรรณภา ผังดี เนื่องจากไม่ได้ถ่ายภาพ
ประเมินตัวเอง : วันนี้มาเรียนสายเล็กน้อยเพราะทานข้าวช้า
แต่ก็เอางานมาส่งอาจารย์และตั้งใจฟังที่อาจารย์แนะนำ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำและข้อแก้ไขมานำไปปรับใช้เป็นอย่างดี
อาจารย์เป็นคนที่คอยห่วงใยใส่ใจนักศึกษาทุกคน คอยให้กำลังใจและให้คำปรึกษาดีๆ ตลอด
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนนำสื่อมาส่งและนำคำที่อาจารย์แนะนำไปปรับปรุง
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันที่ 20 เดือน เมษายน พ.ศ. 2561
ความรู้ที่ได้รับ : วันนี้ไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจาก อาจารย์เบียร์ขออนุญาตจากอาจารย์จ๋าให้ดิฉันและเพื่อนอีก
5 คน ไปสอบวิชาการจัดประสบการณ์กลางแจ้งสำหรับเด็กปฐมวัย
จึงไม่สามารถเข้าเรียนกับอาจารย์ในคาบนี้ได้
ได้นำบันทึกการเรียนรู้จาก
นางสาวอินทิรา หมึกสี มาเป็นแนวทางในการบันทึกการเรียนรู้เพื่อนนำกลับมาบททวนบทเรียน
วันนี้อาจารย์นัดดูความคืบหน้าของงานคือสื่อคณิตศาสตร์ที่ทำจากวัสดุเหลือใช้คือแฝงไข่ อาจารย์ได้ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่ม
ว่าต้องแก้ไข้หรือต้องเพิ่มเติมในส่วนไหนให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
กลุ่มของดิฉันทำสื่อคือเกี่ยวกับการเปรียบเทียบจำนวนอาจารย์ให้คำแนะนำให้ไปลองเล่นกับเด็ก
นางสาวปริชดา
นิราศรพจรัส นำเสนอบทความเรื่อง นิทานกับสื่อการสอนคณิตศาสตร์
สรุป
การนำนิทานมาใช้สร้างกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
สามารถใช้นิทานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งนิทานพื้นบ้านที่เล่ากันมาช้านานโดยอาจมีการดัดแปลงเนื้อหาบ้างเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียน
หรือครูผู้สอนอาจแต่งเรื่องราวของนิทานขึ้นเองโดยผูกโยงสถานการณ์ใกล้ตัวของผู้เรียน
เพื่อสร้างเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ
จูงใจให้ผู้เรียนอยากรู้อยากเรียนโยงไปสู่เนื้อหาสาระที่จะสอดแทรกหรือบูรณาการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนในที่สุดการแต่งนิทานเพื่อนำมาใช้จัดกระบวนการเรียนรู้มีหลักสำคัญ
คือ เรื่องราวของนิทานควรมีความสนุกสนาน กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจ
หรือเกิดปมประเด็นปัญหาที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสงสัยใคร่รู้ที่จะนำไปสู่การปมปัญหาที่จะให้ผู้เรียนหาคำตอบและเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้
หากเรื่องเล่าสนุกและผู้เล่าสามารถเล่าได้อย่างสนุกสนาน ชวนให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ
น่าตื่นเต้นและมีการทิ้งท้ายไว้ให้ติดตามต่อไป
นักเรียนก็จะอยากรู้จนต้องเก็บไปคิดและพยายามหาคำตอบด้วยตนเอง
นั่งคือความสำเร็จของนิทานที่จะกระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเรียนของเด็กได้
นางสาวปิยะธิดา
ประเสริฐสังข์ นำเสนอสื่อการสอนเรื่อง การนับเลขจากสิ่งรอบตัว จากวีดิโอข้างต้นจะเห็นได้ว่าคุณครูสอนให้เด็กปฐมวัยนับเลข
1-10 โดยเปรียบเทียบจากสิ่งต่างๆรอบตัว เช่น เลข 1 เหมือนเสาธง เลข 2
เหมือนเป็ดไหว้น้ำ เพราะเป็ดมีหัวงอเหมือนเลข 2 เลข 3 เหมือนนกบิน เป็นต้น
ระหว่างการคุณครูก็ให้เด็กพูดและทำท่างทางประกอบด้วย
ซึ่งการสอนในลักษณะนี้จะทำให้เด็กจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีค่ะ
นางสาวอรุณวดี
ศรีจันดา นำเสนอบทความเรื่อง พัฒนาการด้านตัวเลขของเด็กวัย 1-6ปี
เทคนิคช่วยส่งเสริมลูก
: เด็กๆ วัยนี้ส่วนใหญ่เริ่มจำชื่อเรียกของตัวเลขต่างๆ ได้แล้วค่ะ (รู้ว่า 1
คือหนึ่ง 2 คือสอง…) กิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับวัยนี้ อาจจะเป็น การหาตัวเลข เช่น
ให้เด็กๆ หยิบตัวเลขที่เราพูดออกจากกอง หาตัวเลขจากในหนังสือ
หรือชี้ตัวเลขจากสถานที่รอบๆ ตัว แล้วตอบว่าเป็นเลขอะไร เป็นต้นค่ะ
กิจกรรมเหล่านี้นอกจากจะช่วยเรื่องความจำแล้ว ยังฝึกให้เด็กๆ
รู้จักการสังเกตอีกด้วยนะคะ นอกจากนี้ การเริ่มสอบนับจำนวนแบบง่ายๆ
ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจและเหมาะสำหรับเด็กวัยนี้ โดยอาจจะสอนการนับผ่านเพลง
(เช่นเพลง 5 little monkeys , 3 little ducks) ซึ่งวิธีนี้ครูพิมได้ใช้อยู่เป็นประจำ เพื่อให้เด็กๆ
สนุกสนานกับการนับ และมีทัศนคติที่ดีกับเรื่องของตัวเลขค่ะ
กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
ประเมินตัวเอง : วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนรู้เรื่ิองเข้าใจค่ะ
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนค่ะแต่อาจจะมีบางกลุ่มคุยกันเสียงดังบ้าง
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่
13
วันที่
25 เดือน เมษายน พ.ศ. 2561
ความรู้ที่ได้รับ
: อาจารย์นัดส่งสื่อที่ทำจากแผงไข่ไก่สำหรับเด็กปฐมวัยภายในห้อง
ตัวอย่างสื่อของเพื่อนๆ ในห้องและได้ไปให้เด็กทดลองเล่นจริง
บรรยากาศภายในห้อง
เกมจับคู่หรรษา
เกมสามพี่น้อง
เกมตัวต่อหรรษา
เกมแม่ไก่นับเลข
ประเมินตัวเอง
: รู้สึกสนุกและตื่นที่ได้ให้เด็กเล่นสื่อที่เราผลิตขึ้นมาเองและอาจารย์ก็ให้คำแนะนำในการทำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย
ประเมินอาจารย์
: อาจารย์ให้คำแนะนำในการทำสื่อและบอกข้อที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้น
ประเมินเพื่อน
: เพื่อนๆ
ทุกคนนำสื่อมาส่งอาจารย์และนำคำที่อาจารย์บอกไปปรับใช้ในการเรียนทุกๆ วิชา
วิดีโอที่ให้เด็กเล่นสื่อที่ผลิตจากแผงไข่ ชื่อ เกมจับคู่หรรษา
จัดทำโดย
นางสาวสุพรรษา มีอุตส่าห์
นางสาวอลิสา กุณาลบ
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันที่ 2 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2561
ความรู้ที่ได้รับ : วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง การสอนคณิตศาสตร์ที่บ้านให้เด็กปฐมวัย
เช่น การสอนเรื่องผลไม้ให้ลูก เด็กได้สัมผัส ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กาย สัมผัส,
ลิ้น รับรส ,จมูก ดมกลิ่น, หู ได้ยิน, ตา มองเห็น
แล้วอาจารย์ก็ให้เพื่อนออกมานำเสนอคลิปที่ไปถ่ายกับเด็กปฐมวัยขณะเล่นสื่อที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเอง
เช่น
1.นางสาวพิมพ์สุดา และนางสาวรุ่งฤดี ชื่อสื่อ แม่ไก่นับเลข
2.นางสาวสุพรรษา และนางสาวอลิสา ชื่อสื่อ จับคู่รูปทรงเรขาคณิตหรรษา
3.นางสาววรรณภา ชื่อสื่อ นาฬิกาหรรษา
4.นางสาวสุพรทิพย์ และนางสาวจุฬารัตน์ ชื่อสื่อ สามพี่น้อง
5.นางสาวรัตนา และนางสาวอินทิรา ชื่อสื่อ ไข่มดหรรษา
6.นางสาวจีรนันท์ และนายปฏิภาณ ชื่อสื่อ คำใบ้หรรษา เป็นต้น
และในช่วงท้ายคาบวันนี้ดิฉันได้มานำเสนอวิจัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต โดย ปณิชา มโนสิทธยากร อย่างย่อว่า “เด็กเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ายิ่งเป็นผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมและความเป็นมนุษย์
เป็นพลังงานสำคัญในการพัฒนาประเทศ
อนาคตของชาติจึงขึ้นอยู่กบคุณภาพของเด็กที่สมบูรณ์ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ
มีพัฒนาการทุกด้านที่เหมาะสมกับวัย เด็กในวัยเริ่มแรกของชีวิตหรือที่เรียกว่า
เด็กปฐมวัย คือวัยตั้งแต่แรกเกิด
ซึ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฐมวัยจนถึง 6 ปี”
ภาพถ่ายขณะที่ดิ่ฉันและเพื่อนๆ ออกมานำเสนอวิจัย
ความมุ่งหมาย
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
1.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเล่มเกม
การศึกกาที่เน้นเศษส่วนของรูปเลขาคณิต
2.เพื่อศึกษาระดับและการเปลี่ยนปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเล่นเกมการศึกษาที่เน้นเศษส่วนของรูปเลขาคณิต
คณิตศาสตร์
เป็นทักษะด้านหนึ่งที่ควรส่งเสริมและจัดประสบการณ์ให้กับเด็กเนื่องจากคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวัน
ชีวิตเราเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
การฝึกทักษะเบื้องต้นในการคำนวณ
โดยการสร้างเสริมประสบการณ์แก่เด็กปฐมวัยในการเปรียบเทียบรูปทรงต่างๆ
บอกความแตกต่างของขนาด น้ำหนัก ระยะเวลา จำนวนของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก
ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้เด็กพร้อมที่จะคิดคำนวณในขั้นต่อไป
และมีของเพื่อนๆ
อีกหลายคน เช่น นางสาววรรณภา ผังดี นำเสนอบทความ , นางสาวจุฬารัตน์ เปี่ยมวารี
นำเสนอบทความ เรื่อง เทคนิคการสอนลูกเก่งเลขง่ายนิดเดียว เป็นต้น
ประเมินตัวเอง : ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอน
เพราะเป็นคาบสุดท้ายที่จะมีการเรียนการสอนก่อนที่จะสอบ
ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและดิฉันแต่งตัวเรียนร้อยดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใส่ใจนักศึกษาทุกคนและสอนเข้าใจเห็นภาพได้ชัดเจนค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมกันภายในห้อง
วันอังคารที่
23 มกราคม พ.